หากไม่อยากทุกข์ทรมานกับการป่วยเป็นโรคกระเพาะอาหาร ต้องแก้ที่การรับประทานอาหาร อาหารที่เหมาะกับการป้องกันโรคกระเพาะ มีดังนี้ 1.คาร์โบไฮเดรตเชิงซ้อนแหล่งอุดมของเส้นใยเกิดขึ้นเอง จากการสะสมตามธรรมชาติ ผ่านกระบวนการแปรรูปน้อยที่สุด หรือไม่ผ่านกระบวนการแปรรูปเลย ซึ่งเป็นประโยชน์อย่างยิ่งต่อระบบย่อยอาหาร เพราะอาหารที่มีเส้นใยสูง ยิ่งกินอาหารที่เป็นกากใยในแต่ละวันมากขึ้น อาหารก็จะถูกย่อยเร็วมากขึ้นเท่านั้น เพราะเส้นใยที่รับประทานเข้าไปจะช่วยดูดซับน้ำเอาไว้ และกระตุ้นให้ระบบย่อยอาหารทำงานได้ดีขึ้น ทั้งยังช่วยในการดูดซึมของผนังกระเพาะอาหาร รักษาแผลในกระเพาะอาหารให้หายเร็วขึ้น ช่วยเพิ่มกากใยในกระเพราะอาหารและลำไส้ใหญ่ ทำให้การขับถ่ายดีขึ้น และนอกจากนั้นการรับประทานอาหารที่มีเส้นใยมากยังทำให้รู้สกอิ่มนาน ไม่หิวบ่อย และไม่ต้องกินจุบกินจิบตลอดเวลา ซึ่งทำให้กระเพาะอาหารได้พักการทำงาน
คาร์โบไฮเดรตเชิงซ้อน พบในข้าวกล้องทุกชนิด ข้าสาลีแบบโฮลวีทหรือข้าสาลีไม่ขัดขาว ข้าวไรย์ ข้างโพด ข้าวบาร์เล่ย์ ข้าวเจ้า ถั่วฝักอ่อน ผลิตภัณฑ์จกถั่วเหลือง เมล็ดพืชชนิดต่างๆ เช่น ทานตะวัน เมล็ดฟักทอง งา และผักใบเขียว ซึ่งทั้งหมดนี้สามารถกินเป็นอาหารหลักได้ และช่วยบำรุงกระเพาะอาหารของเราไปในคราวเดียวกัน
2.ไขมันไม่อิ่มตัวเพิ่มประสิทธิภาพกระเพาะอาหาร ไขมันที่ร่างกายจำเป็นต้องได้รับคือ ไขมันไม่อิ่มตัว เพราะร่างกายไม่สามารถสังเคราะห์ขึ้นเองได้ มักจะพบในธัญพืชต่างๆ เช่น ข้าวต่างๆ ถั่วฝักอ่อน เมล็ดพืช ถั่วเปลือกแข็งและน้ำมัน เช่น น้ำมันข้าวโพด น้ำมันดอกคำฝอย น้ำมันดอกทานตะวัน น้ำมันถั่วเหลือง เป็นต้น ซึ่งไขมันไม่อิ่มตัวที่ผลิตได้จากพืชเหล่านี้มีความสำคัญต่อกระเพาะอาหารโดยตรง ช่วยกระตุ้นการทำงานของระบบเผาผลาญในร่างกาย รวมถึงการเผาผลาญอาหารในกระเพาะอาหารด้วยให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น การกินอาหารทอดมากๆ เช่น มันฝรั่งทอด หมอทอด ปลาทอด ขนมโดนัท ถือว่า เป็นการทำร้ายกระเพาะอาหารของเราเช่นกัน เพราะอาหารเหล่านี้ หากนำไปทอดน้ำมันความร้อนสูงจะมีการเปลี่ยนโครงสร้างทางเคมี ทำให้เกิดกรดไขมันอิสระ ซึ่งฤทธิ์ระคายเคืองต่อกระเพาะอาหารและเยื่อบุลำไส้ได้
3.โปรตีนจากปลาช่วยในการดูดซึม โปรตีนคุณภาพดีและมีประโยชน์ต่อกระเพาะอาหาร คือโปรตีนจากปลาครับ เพราะปลาเป็นโปรตีนที่ย่อยง่ายมาก เมื่อเทียบกับโปรตีนชนิดอื่น ซึ่งนอกจากจะช่วยให้ผนังกระเพาะอาหารดูดซึมได้เร็วขึ้น แล้วในปลายังมีกรดอะมิโน ที่จำเป็นที่ช่วยให้ร่างกายแข็งแรงขึ้น ส่วนอาหารโปรตีนสูงที่มาจากเนื้อสัตว์ใหญ่ เช่น เนื้อวัว เนื้อควาย หมู ไก่ เป็ด เป็นต้น เป็นโปรตีนที่ไม่เหมาะกับผู้ป่วนโรคกระเพาะอาหาร เพราะใช้เวลาในการย่อย และการเผาผลาญนานราว 48-72ชั่วโมง หากกระเพาะอาหารไม่สามารถย่อยและดูดซึมโปรตีนเหล่านี้ได้หมด อาจเกิดจากตกค้างและนำไปสู่โรคอันตรายอื่นๆ ได้ เช่น มะเร็ง เป็นต้น
4.ผักหลากหลายชนิดวิตามิน เกลือแร่ ผักใบเขียวจัดหลายชนิดมีวิตามินเคสูง ช่วยให้แผลในกระเพาะหายเร็วขึ้น ป้องกันเลือดออกในกระเพาะ และช่วยเพิ่มการดูดซึมอีกด้วย ผักใบเขียวจัดเหล่านี้ เช่น คะน้า ผักโขม ปวยเล้ง ฯลฯ
5.ผักที่มีเบต้าแคโรทีนสูงการกินผักที่มีเบต้าแคโรทีนสูงจะช่วยให้แผลในกระเพาะอาหารสมานกันเร็วขึ้น ป้องกันการติดเชื้อในกระเพาะอาหาร ผักและผลไม้ที่มีเบต้าแคโรทีนสูง เช่น ฟักทอง มะเขือเทศ มะละกอ ฯลฯ
ที่มา:http://www.vcharkarn.com/varticle/42279
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น