(clone) มาจากคำภาษากรีกว่า “Klone” แปลว่า แขนง กิ่ง ก้าน ซึ่งใช้อธิบายการแบ่งตัวแบบไม่มีเพศ (asexual) ในพืชและสัตว์
ดังนั้น การโคลนนิ่ง คือการผลิตสัตว์ให้มีลักษณะทาง กายภาพ (phenotype) และทางพันธุกรรม (genotype) เหมือนกัน (identical twin) โดยไม่ใช้เซลล์สืบพันธุ์เพศผู้และเพศเมียมาผสม กัน ในภาษาอังกฤษเรียกว่า “genetic duplication” ดังนั้น การโคลนนิ่งจึงเป็นการทำสิ่งมีชีวิตให้เป็นแฝดเหมือนกัน คือ มีเพศเหมือนกัน สีผิวเหมือนกัน หมู่เลือดเหมือนกัน ตำหนิเหมือนกัน เป็นต้น ซึ่งในทางธรรมชาติ โดยเฉพาะในสัตว์เกิดปรากฏการณ์การเกิดแฝด ขึ้นได้น้อยมาก บางรายงานกล่าวว่าแฝด คู่สอง (twin) มีโอกาสเกิดน้อยกว่า ร้อยละ 1-5 และแฝดคู่สาม คู่สี่ หรือมากกว่า มีรายงานน้อยมาก
จากข่าวที่เป็นที่น่าตื่นเต้นในวงการวิทยาศาตร์การแพทย์ไปทั่วโลก ได้แก่ การทำโคลนนิ่งแกะ ที่ชื่อว่า ดอลลี่ นับเป็นการค้นพบครั้งใหม่ของวงการสถาบัน รอสลิน ผู้สร้างดอลลี่ขึ้นมา โดยใช้เซลล์จากเต้านมของแกะหน้าขาวตัวหนึ่งซึ่งเจริญเต็มที่
การพัฒนาวิทยาการทางด้านโคลนนิ่งเซลล์สัตว์นั้นได้เริ่มมาตั้งแต่ พ.ศ. 2423 หรือ 120 ปีที่ผ่านมา การทดลองค้นคว้าวิจัยได้ เกิดขึ้นมาเป็นลำดับ อาจจะมีทิ้งช่วงบ้างไปตามกาลเวลา แต่ความพยายามคิดค้นก็มิได้หยุดนิ่ง จุดเริ่มต้นการทำโคลนนิ่ง สัตว์เกิดขึ้นเมื่อต้นทศวรรษที่ 50 โดยนักชีววิทยาอเมริกันสองคน คือ โรเบิร์ต บริกกส์ (Robert W. Briggs) และ โทมัส คิง (Thomas J. King) แห่งสถาบันการวิจัยมะเร็งในฟิลาเดเฟีย ทั้งสองได้ร่วมทำการทดลองโคลนนิ่งสัตว์ โดยเริ่มต้นกับกบ และได้ริเริ่มการทำ โคลนนิ่งด้วยวิธีการถ่ายโอนนิวเคลียส (nuclear transfer) โดยอาศัย เทคนิคที่พัฒนาโดย Sperman ซึ่งกลายเป็นวิธีการทำโคลนนิ่งที่ ใช้กันทั่วไป เมื่อเข้าสู่ศตวรรษที่ 21 การโคลนนิ่งสัตว์ครั้งแรกๆ ได้ประสบความสำเร็จคือ การโคลนนิ่งแกะ Dolly ซึ่งเป็นสัตว์ใหญ่ โคลนนิ่งตัวแรกของโลก ความสำเร็จนี้ได้จุดประกายในการที่จะค้นพบเรื่องการเพาะเซลล์
เรื่องของสิ่งที่อ้างกันว่าเป็น“มนุษย์โคลนคนแรกของโลก”เกิดขึ้นในห้องทดลองที่เงียบสงบในเมืองนิวอิงแลนด์ ในเช้าของวันที่ 10 ตุลาคม 2544 โฮเซ่ ซิเบลลี่ นักวิทยาศาสตร์เชื้อสายอาร์เจนตินา ได้นำไข่ของคนที่ได้จากผู้บริจาคที่เก็บไว้ออกมาจำนวนหนึ่ง จากนั้นก็นำมาดูดเอาส่วนนิวเคลียสของไข่เหล่านี้ออก ก่อนที่จะนำนิวเคลียสจากเซลล์อีกชุดหนึ่งที่ต่างออกไปมาใส่แทน อันเป็นวิธีการมาตรฐานสำหรับการทำโคลนนิ่งสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมที่ทำกันอยู่ ขณะนี้ สามวันให้หลัง “เอ็มบริโอ” (หรือไข่ที่ได้รับการผสมด้วยวิธีการดังกล่าว) บางส่วนที่สร้างขึ้นนี้ ... ยังคงมีชีวิตอยู่ และเอ็มบริโอเหล่านี้นี่เองที่เป็นต้นตอของข่าว “มนุษย์โคลนคนแรก” ที่โด่งดังไปทั่วโลกเมื่อต้นปีที่ผ่านมานั่นเองเรื่อง แรกสุดที่ควรจะต้องทำความเข้าใจกันเสียก่อนก็คือ เอ็มบริโอที่เกิดจากกระบวนการโคลนข้างต้น ไม่ได้มีรูปร่างเป็นเด็กที่มีแขนขาหรือรูปร่างแบบเด็กทารกและอยู่ในครรภ์ มารดาแต่อย่างใด เอ็มบริโอที่เรากำลังพูดถึงกันอยู่นี้เป็นแต่เพียงกระจุกของเซลล์ที่มีขนาด ไม่เกินหกเซลล์ ซึ่งมีขนาดเล็กกว่าปลายเข็มหมุดอันเล็กๆ และอยู่ในจานเพาะเลี้ยงเซลล์ในห้องทดลองเท่านั้น
เบลลี่และทีมของเขาใช้วิธีการมาตรฐานในการทำโคลนนิ่งสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมคือ วิธีถ่ายโอนนิวเคลียส (nuclear transfer technique) ซึ่งมีหลักการคร่าวๆ คือ นำสารพันธุกรรมออกจากเซลล์ไข่ที่ต้องการใช้เสียก่อน จากนั้นนำนิวเคลียสจากเซลล์อีกชนิดหนึ่งมาใส่แทนเข้าไปในเซลล์ไข่นั้น กระตุ้นให้เซลล์ไข่หลอมรวมกับนิวเคลียสดังกล่าว และปล่อยให้มีการแบ่งตัวเกิดเป็นเอ็มบริโอต่อไป ในรอบสุดท้ายทางทีมได้หันมาใช้วิธี-การที่คิดค้นโดยเทรุฮิโกะ วากายามะ (และเป็นเทคนิคที่ประสบความสำเร็จในการสร้างหนูโคลนในปี 2541) และในครั้งสุดท้ายนี่เองที่ความสำเร็จมาเยือน ในการทดลองดังกล่าว ซิเบลลี่ทดลองโดยใช้ไข่ทั้งสิ้นจำนวน 19 ฟองและใช้นิวเคลียสจากเซลล์สองชนิดคือ เซลล์ผิวหนังและเซลล์ที่อยู่บริเวณรอบไข่ที่กำลังเติบโต (มีชื่อเฉพาะเรียกว่า เซลล์คิวมูลัส (cumulus)) เนื่องจากเซลล์คิวมูลัสมีขนาดเล็กจึงสามารถฉีดเซลล์ทั้งเซลล์เข้าไปในไข่ (ไม่ต้องแยกส่วนนิวเคลียสออกมา) ปรากฏว่าในกลุ่มที่ใช้นิวเคลียสจากเซลล์ผิวหนังมีไข่เพียงฟองเดียวที่แบ่ง ตัว และแบ่งตัวได้เป็นเพียง 2 เซลล์แล้วก็ไม่แบ่งอีก
ในขณะที่ในกลุ่มของไข่จำนวน 8 ฟองที่ได้รับการผสมจากเซลล์คิวมูลัส มีอยู่สองฟองที่เกิดการแบ่งตัว ในจำนวนนี้ ฟองหนึ่งแบ่งตัวได้เพียงสองรอบ เกิดเป็นกระจุกเซลล์จำนวน 4 เซลล์ก่อนที่จะหยุดแบ่งตัว และมีเพียงฟองเดียวเท่านั้นที่เริ่มแบ่งตัวในรอบที่สามเห็นเป็นกระจุกเซลล์รวม 6 เซลล์ แต่ก็หยุดเติบโตหลังจากนั้น
อนาคตของการโคลนนิ่งมนุษย์
เรื่องของการโคลนยังคงสร้างความประหลาดใจให้กับเราๆ ท่านๆ ได้ทุกครั้งที่มีข่าวใหม่ๆ ออกมานะค่ะ ในอนาคต การโคลนนิ่งเพื่อสืบพันธุ์ก็คงจะยังคงมีการต่อต้านกันต่อไป ในขณะที่หลายคนคงเชื่อว่า ในขณะนี้น่าจะมีการทำโคลนนิ่งมนุษย์ กันอยู่ ณ แห่งใดแห่งหนึ่งแล้ว และเราน่าจะได้เห็น “มนุษย์โคลน” ที่เป็น “เด็กจริงๆ” ในอนาคตอันไม่ไกลนักเห็นได้ว่าการทำโคลนนิ่งเป็นการค้นพบทางวิทยาศาสตร์ที่ยิ่งใหญ่อย่างหนึ่ง แต่มีประเด็นตามมาอีกมากมาย ทั้งในทางบวกและลบ แต่ควรตระหนักไว้ว่า "การค้นพบความจริงทางธรรมชาติเป็นสิ่งที่ดีและมีประโยชน์เสมอ แต่จะเกิดโทษหรือไม่ขึ้นกับว่ามนุษย์นำความรู้นี้ ไปประยุกต์ใช้อย่างไร" ในอีกทางหนึ่ง เทคนิคการโคลนเพื่อบำบัดโรคก็กำลังหาที่ทางของตนเองอยู่ ข้อมูลการทดลองค้นคว้าในอนาคตคงจะเป็นตัวชี้ขาดว่า การทำโคลนนิ่งเพื่อการบำบัดโรคนั้นจะมีประโยชน์ และน่าทำอย่างที่หลายๆ คนในขณะนี้เชื่ออยู่หรือไม่
แหล่งอ้างอิง
http://board.dserver.org/w/wwwt/00000197.html
http://update.se-ed.com/176/human_cloning.htm
http://trendyscience.blogspot.com/2007/09/human-cloning-part-2-process-of-animal.html
http://www.scq.ubc.ca/human-cloning-science-fiction-or-reality
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น