อัลลาบั๊ม2

วันอาทิตย์ที่ 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

บทความ2บทความ

สืบสานตามแนวพระราชดำริโครงข่ายน้ำ
PDF
พิมพ์
อีเมล




  
  
.
ด้วยพระอัจฉริยภาพด้านน้ำของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงมีพระราชดำริเกี่ยวกับการผันน้ำเชื่อมโยงเป็นโครงข่ายน้ำ เพื่อแก้ปัญหาน้ำขาดแคลนในพื้นที่รอยต่อจังหวัดเพชรบุรีและประจวบคีรีขันธ์ จึงได้พระราชทานพระราชดำริให้กรมชลประทานพิจารณาวางโครงการและก่อสร้างระบบผันน้ำจากอ่างเก็บน้ำ หรือแหล่งน้ำที่มีศักยภาพที่ดี และ  มีความเหมาะสม มาเติมให้อ่างเก็บน้ำที่มีศักยภาพน้อย
   
กรมชลประทานจึงได้ดำเนิน โครงการเครือข่ายอ่างเก็บน้ำตามแนวพระราชดำริ โดยก่อสร้างท่อผันน้ำเชื่อมโยงกันอย่างเป็นระบบ ระหว่าง อ่างเก็บน้ำห้วยไทรงาม- อ่างเก็บน้ำทุ่งขาม-อ่างเก็บน้ำห้วยตะแปด- อ่างเก็บน้ำห้วยทราย (หุบกะพง) และ อ่างเก็บน้ำห้วยทราย (ศูนย์ฯห้วยทราย) ซึ่งปัจจุบันได้ดำเนินการเสร็จเรียบร้อยแล้ว ทำให้สามารถกระจายน้ำเข้าสู่ระบบได้อย่างมีประสิทธิภาพ ช่วยเหลือพื้นที่การเกษตรและการอุปโภค บริโภคของเกษตรกรได้เป็นวงกว้างและทั่วถึงมากยิ่งขึ้น
   
และจากความสำเร็จของโครงการเครือข่ายอ่างเก็บน้ำอันเนื่องมาจากพระราชดำริในครั้งนี้ ทางกรมชลประทานจึงได้ขยายผลนำไปใช้ในโครงการอื่น ๆ เช่น ในพื้นที่ภาคตะวันออกมี โครงการก่อสร้างระบบผันน้ำเชื่อมโยงอ่างเก็บน้ำและแหล่งน้ำต่าง ๆ ในจังหวัด ระยอง-ชลบุรี โดยได้ก่อสร้างระบบผันน้ำเชื่อมโยงระหว่าง อ่างเก็บน้ำดอกกราย-หนองปลาไหล-คลองใหญ่-ประแสร์ เข้าด้วยกัน ซึ่งสามารถแก้ไขปัญหาเรื่องน้ำได้ในระดับหนึ่งเท่านั้น
   
ทางคณะรัฐมนตรีจึงได้อนุมัติงบประมาณภายใต้แผนปฏิบัติการไทยเข้มแข็ง 2555 (โครงการลงทุนภายใต้แผนฟื้นฟูเศรษฐกิจระยะที่ 2 ) ให้กรมชลประทานดำเนิน โครงการผันน้ำจากพื้นที่จังหวัดจันทบุรี ไปยังอ่างเก็บน้ำในจังหวัดระยอง  โดยจะก่อสร้างระบบผันน้ำจากคลองวังโตนด จังหวัดจันทบุรี ไปยังอ่างเก็บน้ำประแสร์ จังหวัดระยอง ก่อนที่จะส่งน้ำต่อมายังอ่างเก็บน้ำคลองใหญ่ และอ่างเก็บน้ำหนองปลาไหล ทั้งนี้เพื่อให้มีปริมาณน้ำเพียงพอสำหรับการ อุปโภคบริโภค การท่องเที่ยว และการอุตสาห กรรมในเขตจังหวัดระยอง
   
นอกจากนี้ยังอนุมัติให้ ดำเนินโครง การผันน้ำจากพื้นที่ลุ่มน้ำเจ้าพระยาฝั่งตะวันออกตอนล่าง ไปยังอ่างเก็บน้ำบางพระ จังหวัดชลบุรี โดยจะก่อสร้างระบบท่อผันน้ำจากคลองพระองค์เจ้าไชยานุชิต ไปยังอ่างเก็บน้ำบางพระ เพื่อเพิ่มปริมาณน้ำต้นทุนให้กับอ่างเก็บน้ำบางพระ ซึ่งเป็นแหล่งน้ำสำคัญของภาคอุตสาหกรรม การท่องเที่ยว การเกษตร และการอุปโภคบริโภค
   
อีกโครงการหนึ่งที่จะทำเป็นโครงข่ายน้ำก็คือ โครงการเพิ่มปริมาณน้ำในอ่างเก็บน้ำเขื่อนแม่กวงอุดมธารา จ.เชียงใหม่ เพื่อแก้ปัญหาขาดแคลนน้ำในจังหวัดเชียงใหม่และลำพูน ซึ่งขณะนี้โครงการอยู่ระหว่างการพิจารณาของคณะกรรมการผู้ชำนาญการพิจารณารายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม ด้านโครงการพัฒนาแหล่งน้ำ
   
นอกจากนี้กรมชลประทานยังมีโครงการผันน้ำเชื่อมโยง สร้างเป็นโครงข่ายน้ำอีกหลายโครงการแต่ยังไม่สามารถดำเนินการได้ไม่ว่าจะเป็น โครงการผันน้ำจากลุ่มน้ำป่าสักลงสู่ลุ่มน้ำลำตะคอง เพื่อแก้ปัญหาขาดแคลนน้ำในพื้นที่จังหวัดนครราชสีมา โครง การผันน้ำโขง-ชี-มูล ซึ่งเป็นเมกะโปรเจคท์ ที่จะพลิกฟื้นสร้างความอุดมสมบูรณ์ให้กับภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และทำให้สามารถขยายพื้นที่ชลประทานเพิ่มได้อย่างต่อเนื่องไม่น้อยกว่า 10 ล้านไร่ โครงการผันน้ำอ่างเก็บน้ำยวมตอนล่าง-เขื่อนภูมิพล เพื่อแก้ไขปัญหาการขาดน้ำเพื่อการเกษตรในช่วงฤดูแล้งของพื้นที่ลุ่มน้ำเจ้าพระยา ซึ่งจะสามารถผันน้ำมายังเขื่อนได้ไม่น้อยกว่า 2,000 ล้านลูกบาศก์เมตรต่อปี โครงการผันน้ำ กก-อิง-น่าน มาเติมไว้เป็นน้ำต้นทุนของเขื่อนสิริกิติ์ ซึ่งจะได้ปริมาณน้ำอีกไม่น้อยกว่า 2,000 ล้านลูกบาศก์เมตรต่อปีเช่นกัน
   
ถ้าเราสามารถขยายผลโครงข่ายน้ำ ตามแนวพระราชดำริ โดยเชื่อมโยงแหล่งน้ำแต่ละแห่งที่มีศักยภาพเข้าด้วยกัน ก็จะทำให้การแก้ปัญหาเรื่องน้ำ ไม่ว่าจะเป็นปัญหาน้ำท่วม น้ำแล้ง ได้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นไม่น้อยทีเดียว.
ที่มา http://www.deqp.go.th 


วิธีง่าย ๆ รักษ์พลังงวิธีง่าย ๆ รักษ์พลังงาน กู้โลกร้อน าน กู้โลกร้อน 
 
นายวีระพล จิรประดิษฐกุล ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน (สนพ.) เปิดเผยว่า ปัจจุบันพบว่าประเทศไทยมีการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสูงเป็นอันดับที่ 31 ของโลก หรือ อันดับที่ 4 ของอาเซียน ซึ่งสาเหตุใหญ่ที่ทำให้เกิดสภาวะโลกร้อนในปัจจุบัน คือ การที่มนุษย์เผาผลาญเชื้อเพลิงฟอสซิล เช่น น้ำมัน ก๊าซธรรมชาติ เพื่อนำมาผลิตเป็นพลังงาน และปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (Co2) ที่เป็นสาเหตุของสภาวะโลกร้อน ดังนั้น เพื่อร่วมกันลดการใช้พลังงาน อันเป็นสาเหตุของการเกิดสภาวะโลกร้อน สนพ.มีเคล็ดลับ “10 วิธีง่ายๆ รักษ์พลังงาน กู้โลกร้อน” มาแนะนำดังนี้
      
       เปลี่ยนหลอดไฟจากหลอดไส้เป็นหลอดตะเกียบ และเปลี่ยนหลอดผอม (T8) เป็นหลอดผอมใหม่เบอร์ 5 (T5) ซึ่งกินไฟเพียง 28 วัตต์ โดยหากเราเปลี่ยนมาใช้หลอด T5 แทนหลอด T8 ซึ่งมีอยู่ 200 ล้านหลอดทั่วประเทศ จะประหยัดไฟได้ปีละ 9,000 ล้านหน่วย หรือ 25,000 ล้านบาทต่อปี ลดการนำเข้าเชื้อเพลิง 15,000 ล้านบาทต่อปี ลดการปล่อย Co2 ได้ถึง 4,600 ล้านตันต่อปี
      
       แอร์ เป็นเครื่องใช้ไฟฟ้าที่กินไฟสูงถึง 40% ของปริมาณการใช้ไฟฟ้าของบ้าน 1 หลัง การปรับอุณหภูมิแอร์ให้อยู่ที่ 25 องศาเซลเซียส ช่วยลดการใช้พลังงานลงได้ 5-10% และช่วยลด Co2
      
       คอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะทั่วไป กินไฟประมาณ 400-500 วัตต์ โดยตัว CPU กินไฟประมาณ 150 วัตต์ ส่วนจอมอนิเตอร์ ที่ปัจจุบันนิยมใช้เป็นจอ LCD กินไฟประมาณ 300 วัตต์ หากต้องการหยุดใช้งานคอมพิวเตอร์ชั่วคราว ควรปิดสวิตช์หน้าจอทุกครั้ง จะช่วยประหยัดพลังงาน และช่วยลด Co2
      
       ปลูกต้นไม้ นอกจากจะช่วยเพิ่มความสดชื่น กรองฝุ่น กรองเสียง ยังช่วยบังแดดเป็นฉนวนกันความร้อนอย่างดี โดยต้นไม้ สามารถดูดซับ Co2 ตลอดอายุของต้นไม้
      
       การขับรถ ควรใช้ความเร็วที่สม่ำเสมอ หรือตามที่กฎหมายกำหนด จะช่วยประหยัดน้ำมัน รวมทั้งยังช่วยเพิ่มความปลอดภัยและป้องกันอุบัติเหตุที่อาจเกิดขึ้นในระหว่างการเดินทาง โดยหากขับรถด้วยความเร็วไม่เกิน 90 กม./ชม.จะช่วยลดปริมาณ Co2 ได้
      
       การเปิดช่องหน้าต่าง ประตู จะทำให้ลมพัดผ่านเข้า-ออกตัวบ้าน ทำให้บ้านเย็นสบาย โดยในแต่ละห้องในบ้านควรเปิดทางให้ลมมีทางเข้า และทางออกเพื่อให้อากาศภายในถ่ายเทสะดวกและระบายความร้อนได้ดี ช่วยลดการใช้แอร์ลงได้
      
       งดใช้ถุงพลาสติก ในแต่ละปีมีถุงพลาสติกถูกผลิตออกสู่ตลาดมากกว่า 50,000 ล้านถุง และมีเพียง 3% ของถุงพลาสติกที่ถูกนำไป “รีไซเคิล” กลับมาใช้ใหม่อีกครั้ง โดยถุงพลาสติกแต่ละใบต้องใช้เวลาถึงพันปีกว่าจะย่อยสลายหมดไปจากโลก
      
       ถอดปลั๊กเครื่องใช้ไฟฟ้าที่ไม่ได้ใช้งานทุกครั้ง เพราะเครื่องใช้ไฟฟ้าที่เสียบปลั๊กทิ้งไว้ แม้จะปิดสวิตช์ไปแล้ว ยังคงเกิดแรงดันไฟฟ้าอยู่ การถอดปลั๊กเครื่องใช้ไฟฟ้าที่ไม่ได้ใช้งานช่วยลด Co2 ได้
      
       หมั่นตรวจเช็กลมยาง ให้ตรงตามความต้องการของรถ เพราะหากยางสึกหรอหรือลมอ่อนจะทำให้การทรงตัวของรถไม่ดี และสิ้นเปลืองน้ำมัน (ความดันลมยางต่ำกว่ามาตรฐานทุก 1 ปอนด์ต่อตารางนิ้ว จะทำให้สิ้นเปลืองน้ำมันเพิ่มขึ้น 2%) และควรตรวจเช็คความดันลมยางอย่างน้อยสัปดาห์ละ 1 ครั้ง หรือทุกๆ ระยะทาง 500 กิโลเมตร
      
       บริโภคให้น้อยลง เน้นนโยบาย 4RS (Rethink, Reduce, Reuse, Recycle) ทำได้หลายวิธี อาทิ การใช้กระดาษให้มีประสิทธิภาพสูงสุด จะช่วยลดการตัดต้นไม้ลงได้ การกินอาหารก็ควรกินให้หมดไม่เหลือให้เป็นขยะเน่าเสีย ซึ่งการรีไซเคิลขยะในบ้าน จะช่วยลด Co2

แหล่งที่มา :
www.manager.co.th

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น